วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่10ศาสนาสำคัญในประเทศไทย

    แม้คนไทยส่วนใหญ่จะนับถือพระพุทธศาสนา  แต่ประเทศไทยเป็นดินแดนเสรี ประชาชนได้รับสิทธิที่จะนับถือศาสนาใดๆ  ก็ได้ตราบเท่าที่ไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น
   อย่างไรก็ตาม  ความแตกต่างทางศาสนาไม่เคยก่อให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงในประเทศไทยศาสนิกชนไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด  ต่างก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุข อ่านต่อ

บทที่9ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา

ความหมายของศาสนา
     พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า ศาสนา ไว้ว่า ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง อ่านต่อ

บทที่8หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ

   ชาวพุทธ  คือ  ผู้ที่เคารพเลื่อมใสและศรัทธาในพระรัตนตรัย  มีหน้าที่ในการศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ในความเคารพนับถือต่อพระรัตนตรัย  เอาใจใส่ทำนุบำรุง  และบำเพ็ญประโยชน์ต่อวัดและพระสงฆ์  นอกจากนี้ยังต้องปฏิบัติตนอย่างมีมารยาท  ที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อพระสงฆ์  และนำแนวทางการปฏิบัติตนของพระสงฆ์มาเป็นแบบอย่างที่ดีงามในการดำเนินชีวิต อ่านต่อ

บทที่7พุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง

พระสารีบุตร 

        ๑. ประวัติ  พระสารีบุตร เป็นชาเมืองนาลันทา  กรุงราชคฤห์โดยกำเนิด  บิดาของท่านมีนามว่า วังคันตพราหมณ์ และมารดานามว่า นางสารีรพราหมณี ท่านมีนามเดิมว่า อุปติสสะ
        ๒. คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
             ๒.๑ เป็นผู้มีปัญญาหลักแหลม พระสารีบุตรเป็นผู้มีปัญญาหลักแหลม สามารถแสดงธรรมหักล้างความคิดเห็นผิด และทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้ความเข้าใจได้แจ่มแจ้งอ่านต่อ

บทที่6 การบริหารจิตเจริญปัญญา

      พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ เน้นเรื่องการฝึกจิตเป็นสำคัญ การบริหารจิตและเจริญปัญญาเป็นวิธีการดูแลและทำนุบำรุงจิตใจของ มนุษย์ให้มีความบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสมาครอบงำให้รู้จักละอายและเกรงกลัวต่อ บาปกรรม โดยใช้วิธีการฝึกตามหลักสติปัฏฐาน ๔ จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติมีสติสัมปชัญญะดีเลิศและมีจิตมั่นคงได้อย่างรวดเร็ว อ่านต่อ

บทที่5พระไตรปิฏกและพุทธศาสนสุภาษิต

พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก 
   พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อยอ่านต่อ

บทที่4หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

พระรัตนตรัย คือแก้วอันประเสริฐ (ของชาวพุทธ) 3 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
พระพุทธ     คือ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
พระธรรม     คือ  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
พระสงฆ์     คือ ผู้ปฏิบัติชอบตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วสอนผู้อื่นให้ประพฤติปฏิบัติตาม  อ่านต่อ